|
|
|
คำ ว่าน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น, น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์กลั่นเย็น หรือน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น ล้วนมีความหมายอย่างเดียวกัน มาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Virgin Cold Pressed Coconut Oil เป็นการผลิตน้ำมันมะพร้าวโดยไม่ใช้ความร้อนและไม่ใช้สารเคมี เพื่อรักษาสารที่มีประโยชน์ในเนื้อน้ำมันมะพร้าว และป้องกันไม่ให้การจับตัวกันของโมเลกุลน้ำมันมะพร้าวเปลี่ยนแปรไปจนเป็นโทษ กับร่างกาย
|
|
|
ทำไมของดีใกล้ตัวจึงถูกทำให้ไร้ค่า
|
|
|
ในอดีต ที่ถูกบันทึกไว้มากกว่า 100 ปี คนในเขตเอเชียใช้น้ำมันมะพร้าว เป็นในผลิตภัณฑ์อาหารและยา รวมทั้งเป็นที่แพร่หลายไปสู่ คนทั้งโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484-88) กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครอง ประเทศฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะต่าง ๆ ในย่านมหาสมุทรแปซิฟิก ทางลำเลียงน้ำมันมะพร้าวไปสู่สหรัฐอเมริกาจึงถูกตัดลง ผู้ผลิตอาหารและร้านค้าอาหารจำเป็นต้องขวนขวายหาน้ำมันอื่นมาทดแทน เช่นน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันทานตะวัน น้ำมันคำฝอย น้ำมันคาโนลา น้ำมันข้าวโพด ฯลฯ และก่อให้เกิดมูลค่า มหาศาลต่อวงการอุตสาหกรรมน้ำมันพืชของประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง น้ำมันมะพร้าวถูกส่งกลับไปจำหน่ายยังสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง จึงเกิดการแข่งขันกับน้ำมันพืชไม่อิ่มตัว ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมา ระหว่างทศวรรษปี พ.ศ. 2503-12 มีการรายงานผลงานวิจัยว่า น้ำมันอิ่มตัวบางประเภท (เช่นน้ำมันจากสัตว์ และน้ำมันมะพร้าวที่ถูกเติมไฮโดรเจน) ไปเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุของโรคหัวใจ สมาคมถั่วเหลืองอเมริกัน (American Soybean Association - ASA) จึงถือโอกาสสรุปว่า น้ำมันอิ่มตัวทั้งหมดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และรณรงค์ให้ประชาชนเลิกบริโภคน้ำมันอิ่มตัว ซึ่งรวมทั้งน้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม แล้วหันไปบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว (unsaturated oils) โดยเฉพาะน้ำมันถั่วเหลือง
|
|
|
การรณรงค์ได้ผลดีเกินคาด ทำให้การบริโภคน้ำมันมะพร้าวลดลงอย่างฮวบฮาบ แต่สิ่งที่คนอเมริกันได้รับเพิ่มขึ้นหลังจากที่บริโภคน้ำมันถั่วเหลือง ก็คือน้ำหนักตัว และความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคอ้วน ฯลฯ และยังทำให้คนทั่วโลกที่บริโภคน้ำมันถั่วเหลืองพลอยรับบาปไปด้วย เพราะน้ำมันถั่วเหลืองเป็นน้ำมันไม่อิ่มตัว ที่หากนำไปหุงต้มที่อุณหภูมิสูง จะถูกเติมไฮโดรเจนแล้วเปลี่ยนเป็นกรดไขมันทรานส์ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไปเพิ่มคอเลสเตอ-รอลในกระแสโลหิต และเกิดสารก่อมะเร็ง ยิ่งไปกว่านั้น น้ำมันถั่วเหลือง ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว ไม่เปลี่ยนเป็นพลังงานเมื่อบริโภคเข้าไปในร่างกาย แต่กลับเปลี่ยนเป็นไขมันไปสะสมในร่างกาย ทำให้เป็นโรคอ้วน ไม่เหมือนน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นน้ำมันอิ่มตัว ไม่เกิดอนุมูลอิสระและไขมันทานส์เมื่อถูกกับอุณหภูมิสูง และเนื่องจากมีขนาดโมเลกุลปานกลาง จึงเคลื่อน ย้ายได้รวดเร็ว จากกระเพาะไปยังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด และถูกใช้เป็นพลังงานในตับจนหมดสิ้น จึงไม่เหลือเป็นไขมันสะสมในร่างกาย
|
|
|
Dr. Mary G. Enig, Director, Nutritional Sciences Division, Enig Associates, Inc. ได้เรียบเรียงหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "Know Your Fats: The Complete Primer for Understanding the Nutrition of Fats, Oils and Cholesterol". ในหนังสือเล่มนี้ Dr. Enig ได้กล่าวว่ามีข้อมูลที่ผิดพลาด และบิดเบือนในวงการแพทย์ และสื่อสารมวลชนของน้ำมันอิ่มตัวธรรมชาติ กล่าวคือ น้ำมันเขตร้อน (Tropical Oils) อันได้แก่น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์ม ได้รับการประณามว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็เพราะแรงผลักดันทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมน้ำมันพืชอเมริกัน ที่จริงแล้ว จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า น้ำมันเขตร้อน กลับเป็นตัวป้องกันโรคหัวใจ ดังเช่นในปี 1981 ได้มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ชาวพื้นเมืองในเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งบริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำในปริมาณสูง ไม่มีใครเป็นโรคหัวใจแต่อย่างใด แต่เมื่อชาวพื้นเมืองเหล่านี้ อพยพไปสู่ประเทศนิวซีแลนด์ และลดการบริโภคน้ำมันมะพร้าว ผลปรากฏว่า คอเลสเตอรอลรวม และ LDL เพิ่มขึ้น และ HDL กลับลดลง (Prior et al. 1981)
|
|
|
นักวิทยาศาสตร์ และแพทย์ชาวอเมริกัน อีกหลายคน ที่ยังซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพของตน ได้ออกมาต่อสู้เพื่อความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ บุคคลเหล่านี้ได้แก่ Dr. Bruce Fife (2000, 2004, 2005, 2006), Dr. Ray Peat (2004, 2005), Dr. Jon .J. Kabara (1978, 1985, 2004), Dr. O. Ravnskov (2000) และ Dr. Joseph Mercola (2003)
|
|
|
องค์ประกอบที่มีประโยชน์ในน้ำมันมะพร้าว |
|
|
น้ำมันมะพร้าวเป็นน้ำมันที่ได้ จากธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีสังเคราะห์ใด ๆ เจือปน โดยเฉพาะสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งมักจะมีเจือปนอยู่ในน้ำมันพืชชนิดอื่น ๆ เราสามารถใช้น้ำมันมะพร้าวในสภาพที่สกัดได้ตามธรรมชาติทันที โดยไม่ต้องทำให้บริสุทธิ์ ฟอกสี และกำจัดกลิ่น ดังเช่นน้ำมันพืชอื่น ๆ จึงปลอดภัยจากอันตรายของสารเคมี น้ำมันมะพร้าว มีคุณสมบัติที่ดีเด่นที่ไม่มีในน้ำมันพืชอื่นใดในโลกนี้
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย้นของแท้จากธรรมชาติต้องเป็นไข
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวธรรมชาติจะแข็ง ตัวหรือเป็นไข เมื่ออากาศหนาวเย็นที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25?C หากไม่แข็งตัวที่อุณหภูมิดังกล่าวแสดงว่า น้ำมันมะพร้าวขวดนั้นๆถูกผ่านกรรมวิธีด้วยความร้อนหรือสารเคมี ที่ทำให้การจับตัวของโมเลกุลน้ำมันมะพร้าวเปลี่ยนแปลงไป |
|
|
การทำให้น้ำมันมะพร้าวคืนสภาพพร้อมใช้ |
|
|
เมื่อน้ำมันมะพร้าวเป็นไข ให้นำขวดลงแช่ในน้ำอุ่นจัดแต่ไม่ถึงกับ น้ำมันมะพร้าวจะกลับมาเป็นของเหลวใส น้ำมันมะพร้าวอุ่นเล็กน้อย จะแทรกซึมผ่านผิวหนังและรูขุมขนได้ดีขึ้น |
|
|
ข้อดีของน้ำมันมะพร้าวที่ประกอบด้วยโมเลกุลไขมันสายขนาดกลาง |
|
|
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีกรด ไขมันที่มีคาร์บอนในโมเลกุล 8 - 12 ตัว จึงทำให้ ย่อยง่าย เปลี่ยนเป็นพลังงานได้เร็ว ไม่สะสมตามเซลล์ไขมันหรือเกาะตัวตามผนังหลอดเลือดเหมือนน้ำมันทั่วไป(น้ำมัน ชนิดอื่นๆที่เป็นกรดไขมันสายยาว คือมีคาร์บอนในโมเลกุลตั้งแต่ 14 ตัวขึ้นไป ย่อยยาก สะสมเพราะเป็นพลังงานเหลือใช้ )
|
|
|
กรดไขมันที่พบได้ในน้ำมันมะพร้าว |
|
|
ในน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดล อริค 47.5% กรดคาปริลิค 7.8% กรดคาปริค 6.7% ที่เหลือเป็นกรดไขมันอีกหลายหลายชนิดอย่างละเล็กน้อย |
|
|
|
|
|
ข้อแตกต่างที่ยังทำให้เราเข้าใจผิดมาโดยตลอดระหว่างไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว
|
|
|
การจับกันของโมเลกุลกรดไขมัน แบบหลวมๆสามารถแปรเปลี่ยนได้ง่ายจะได้เป็นไขมันไม่อิ่มตัว แต่ถ้าจับกันแบบเหนียวแน่นไม่สามารถแปรเปลี่ยนได้คือไขมันอิ่มตัว คำว่าอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว ไม่ได้หมายความว่าเป็นน้ำมัน ดี หรือ ไม่ดี |
|
|
หลายท่านไม่ทราบว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัวชนิดดี |
|
|
ไขมันอิ่มตัวส่วนมากทำให้ระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ยกเว้น น้ำมันมะพร้าวและน้ำมันปาล์มที่ ไม่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ในทางกลับกันยังทำให้ระดับของ HDL ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลดีเพิ่มขึ้น และระดับของ LDL ซึ่งเป็นคอเลสเตออลร้ ายลดลง อันที่จริงน้ำมันมะพร้าวมีคอเลสเตอรอลน้อยกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ คือมีอยู่แค่ 14 PPM ในขณะที่น้ำมันปาล์ม, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าวโพด, เนยเหลว และน้ำมันหมู มีคอเลสเตอรอลอยู่ที่ 18, 28, 50, 3150 และ 3500 PPM ตามลำดับ (PPM=1ส่วนในล้านส่วน) |
|
|
ข้อดีของไขมันอิ่มตัวที่ท่านควรทราบ |
|
|
เพราะไขมันอิ่มตัวมีโมเลกุลที่ จับกันอย่างแน่นหนา จึงไม่แปรสภาพหรือเสื่อมเสียได้ง่าย หากผสมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันไม่อิ่มตัว น้ำมันมะพร้าวจะช่วยรักษาน้ำมันไม่อิ่มตัวนั้นให้พลอยไม่เสื่อมสภาพไปง่ายๆ ด้วย ปัจจุบันจึงมีการใช้น้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นไขมันอิ่มตัวชนิดดี ผสมลงในอาหารเพื่อเป็นการเก็บรักษาหรือการถนอมอาหาร |
|
|
ข้อเสียของไขมันไม่อิ่มตัวที่เราควรหลีกเลี่ยง |
|
|
ข้อเสียของไขมันไม่อิ่มตัวคือ เสื่อมสภาพได้ง่ายนั่นเอง จึงต้องมีการนำไขมันไม่อิ่มตัวมาเพิ่มสารเคมีและให้ความร้อน ซึ่งเราเรียกว่าน้ำมันผ่านกรรมวิธี การนำน้ำมันมาผ่านกรรมวิธีทำให้เก็บรักษาได้นานขึ้นแต่ทำให้การจับตัวของ โมเลกุลกรดไขมันเปลี่ยนแปรไปเกิดเป็นกรดไขมันทรานส์ และไขมันทรานส์นี่เองที่เป็นโทษกับร่างกาย ทำให้เกิดโรคมะเร็ง เบาหวาน และโรคหัวใจ สำหรับน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันอิ่มตัว จึงไม่จำเป็นต้องผ่านกรรมวิธี ทำให้ไม่มีกรดไขมันทรานส์ |
|
|
จริงหรือที่น้ำมันมะพร้าวไม่ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งถึงแม้จะถูกนำไปปรุงอาหารด้วยความร้อน |
|
|
ด้วยความที่น้ำมันมะพร้าวเป็น ไขมันอิ่มตัวไม่เสื่อมสภาพหรือแปรสภาพได้ง่าย จึงไม่เปลี่ยนรูปเป็นไขมันทรานส์ที่เป็นสารก่อมะเร็งเมื่อต้องถูกกับความ ร้อนหากนำไปใช้เป็นน้ำมันทอดอาหาร ซึ่งแตกต่างจากน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังมีอัตราการเกิดโพลิเมอร์ต่ำ หมายถึงสารเหนียวที่เกิดจากการทอดด้วยไฟแรง และไม่เหม็นหืนง่ายเหมือนน้ำมันไม่อิ่มตัวทั่วๆไป (ในท้องตลาดก็ทราบกันดีว่าการผสมน้ำมันมะพร้าวไปในน้ำมันปาล์มจะทำให้น้ำมัน มีคุณสมบัติที่ดี ที่ท่านรู้จักกัน ในชื่อ น้ำมันบัว สามารถนำมาทอดอาหารได้ที่ความร้อนสูง โดยไม่เปลี่ยนสี นั่นเอง)
|
|
|
สิ่งที่ท่านควรรู้คือ น้ำมันมะพร้าวไม่เป็นโทษกับร่างกาย
|
|
|
เป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง และถูกยกย่องว่าเป็น ต้นตำรับของการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็นคือ พอล ซอร์ซี่ บิดาของพอลเป็นแพทย์แผนโบราณ พอลจึงรับประทานน้ำมันมะพร้าวมาแต่เล็กๆทุกวันวันละ 2 ช้อน ใช้น้ำมันมะพร้าวนวดตัวตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าทุกวัน ปรุงอาหารทุกชนิดด้วยน้ำมันมะพร้าว (พอลเป็นพ่อครัวชั้นดี เคยทำงานเป็นกุ๊กในโรงแรมหรูอย่าง วอลดอล์ฟแอสโตเรีย) พอลมีอายุยืนยาวถึง 102 ปี
|
|
|
เหตุใดจึงเชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นประโยชน์กับทารกในครรภ์ |
|
|
เพราะน้ำมันมะพร้าวทำให้ร่าง กายดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้ดี จึงเหมาะกับหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้ ทารกได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างพอเพียง นอกจากนั้นในน้ำมันมะพร้าวยังประกอบด้วยกรดลอริค ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบได้ในน้ำนมแม่ การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นการกระตุ้นให้น้ำนมแม่อุดมไปด้วยสารอาหาร และกรดลอริคนี่เองที่มีอำนาจในการฆ่าเชื้อโรค ทำให้ทารกแข็งแรงมีภูมิคุ้มกัน
|
|
|
ธรรมชาติของร่างกาย การละลายของสารอาหารที่สำคัญและวิตะมิน บางชนิดต้องละลายในไขมัน |
|
|
แคลเซี่ยม แม็กเนเซี่ยม เบตาแคโรทีน วิตะมิน A, D, E, K ล้วนต้องละลายในไขมันร่างกายจึงจะดูดชึมไปใช้ได้ คนเราจึงยังคงต้องบริโภคไขมันอีกทั้ง น้ำมันมะพร้าวยังย่อยง่าย เปลี่ยนเป็นพลังงานได้เร็ว จึงช่วยนำแร่ธาตุและวิตะมินต่างๆเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายได้เร็วยิ่งขึ้น |
|
|
น้ำมันมะพร้าวช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงอย่างไร
|
|
|
การรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็น ประจำช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซับแคลเซี่ยมและแม็กเนเซี่ยม จึงเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงในทางตรงข้าม หากร่างกายขาดแคลเซี่ยมและแม็กเนเซี่ยม จะทำให้กระดูกไม่แข็งแรง เกิดอาการกระดูกเปราะ แตกหักง่าย |
|
|
ผู้มีปัญหาเรื่องตับ ท่านควรทราบว่าน้ำมันมะพร้าวมีประโยชน์อย่างยิ่ง
|
|
|
ผู้ที่เป็นเบาหวานตับอ่อน บกพร่อง หรือผู้ที่เคยผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกจะรู้กันดีว่ามีปัญหาเรื่องย่อยไขมัน สำหรับน้ำมันมะพร้าวเป็นไขมันสายปานกลาง ย่อยง่ายสามารถย่อยได้แม้ในกระเพาะอาหาร ลำไส้น้ำมันมะพร้าวจึงมีประโยชน์มากกับผู้มีปัญหาเรื่องตับ |
|
|
น้ำมันมะพร้าวกับการทำงานของต่อมไทรอยด์
|
|
|
เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวให้ พลังงานสูง ดูดซับเร็ว จึงสามารถกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์กลับมาทำงานในอัตราปรกติได้ ในผู้ที่มีปัญหาการทำงานของต่อมไทรอย์ การรับประทานน้ำมันมะพร้าวจะช่วยสร้างพลังงานเสริมให้กับต่อมไทรอยด์ |
|
|
แม้แต่นักกีฬายังต้องใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นอาหารเสริม
|
|
|
เพราะการย่อยและดูดซึมง่าย ร่างกายสามารถนำไปใช้สร้างเป็นพลังงานได้เร็ว น้ำมันมะพร้าวจึงถูกนำไปทำเป็นอาหารบำรุงกำลังแก่นักกีฬาทั้งแบบชงดื่มและ แบบแท่ง ทั้งนี้ไม่เป็นการผิดกฏ เนื่องจากการใช้น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มพลังงานไม่มีผลตกค้างและผลข้างเคียง แบบการใช้ยาหรือการใช้สารกระตุ้น
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวช่วยปกป้องคุ้มครองไต |
|
|
โรคไตเป็นสภาวะแทรกซ้อนของเบา หวาน ไตวายเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้เสียชีวิตของโรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้รับการควบคุมเป็นเวลานานปัญหาการไหลเวียนจึง เกิดขึ้น สร้างความเสียหายให้กับเส้นเลือดเล็กๆที่ไต มีหลักฐานว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกันไตจากความเสียหาย และช่วยให้กลับมาทำงานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างจากงานศึกษาชิ้นหนึ่ง สภาวะไตวายถูกทำให้มีขึ้นในสัตว์ทดลอง กลุ่มที่ได้รับน้ำมันมะพร้าวมีความเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้นกับไตน้อยกว่า และมีอายุอยู่ได้นานกว่า นักวิจัยสรุปว่าน้ำมันมะพร้าวมีผลในการช่วยป้องกันไต ถ้าความเสียหายไม่รุนแรงจนเกินไป น้ำมันมะพร้าวสามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นอย่างถาวร น้ำมันมะพร้าวจะช่วยไม่ให้อาการเลวร้ายลงกว่าเดิม
|
|
|
ประโยชน์ง่ายๆที่ทำให้ทุกท่านต้องใช้น้ำมันมะพร้าวคือคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค |
|
|
น้ำมันมะพร้าวเมื่อแตกตัวเป็น กรดไขมันอิสระจะมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค การรับประทานน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจะทำให้เชื้อโรคร้ายต่างๆในร่างกายของ เราลดลง ทำให้ไม่ค่อยเจ็บไข้ได้ป่วย การฆ่าเชื้อของน้ำมันมะพร้าวไม่เหมือนกับการฆ่าเชื้อด้วยยาปฎิชีวนะ จึงไม่ทำให้เชื้อเกิดการดื้อยา นอกจากนี้น้ำมันมะพร้าวยังช่วยขับถ่ายพยาธิอีกด้วย |
|
|
น้ำมันมะพร้าวกับปัญหาเชื้อรา
|
|
|
ผู้หญิงหลายท่านมีปัญหาเรื่อง เชื้อราในช่องคลอด (แคนดิดา)หรือเชื้อรา เกิดตามปากและช่องคอของเด็กอ่อน หรือเชื้อราตามผิวหนังที่เกิดภายใต้ความอับชื้นของผ้าอ้อม หรือผู้ที่ต้องรับประทาน ยาปฏิชีวนะ จำพวกสเตียรอยด์ (คอร์ซิโตน, เอทีซีเอช, เพร็ดนิโซน, และยาคุมกำเนิด) ยาพวกนี้จะฆ่าแบ็คทีเรียในลำไส้ของเราไม่ว่าเป็นชนิดดีหรือชนิดร้าย แต่ไม่ฆ่าเชื้อราแคนดิดา เมื่อไม่มีแบ็คทีเรียคอยควบคุม เชื้อราแคนดิดาจะทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างของตัว เองเป็นราหลายเซลฝังตัวลงในลำไส้ ทำให้ลำไส้เป็นแผล เกิดโรคลำไส้อักเสบ น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราพวกนี้ และสามารถคืนความสมดุลให้กับลำไส้เมื่อเรารับประทานเป็นประจำ |
|
|
ปัญหาการอักเสบเรื้อรังก็แก้ได้ง่ายๆด้วยน้ำมันมะพร้าว
|
|
|
ท่านที่มีปัญหาไม่สบายเนื้อตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ผิวหนังมีอาการแพ้หรืออักเสบเรื้อรังเป็นรอยด่างดำ มีการอักเสบที่ระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสียเรื้อรัง การรับประทานน้ำมันมะพร้าวทุกวันสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เพราะน้ำมันมะพร้าวจะเข้าไปช่วยสร้างความสมดุลในระบบทางเดินอาหารเช่นใน กระเพาะและลำไส้ ช่วยลดจำนวนของแบ็คทีเรียร้าย และทำให้แบ็คทีเรียชนิดดีเพิ่มปริมาณมากขึ้น
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวไม่ทำอันตรายแบททีเรียชนิดที่มีประโยชน์ในลำไส้ |
|
|
แบ็คทีเรียหลายชนิดที่ร่างกาย จำเป็นต้องมีไว้ เพื่อควบคุมปริมาณของแบ็คทีเรียที่เกิดโทษไม่ให้มีมากเกินไป การรับประทานยาบางชนิดจะไปฆ่าแบ็คทีเรียทั้งชนิดที่เป็นโทษและเป็นประโยชน์ กับร่างกาย ในขณะที่น้ำมันมะพร้าวจะไม่ฆ่าแบ็คทีเรียชนิดดี |
|
|
น้ำมันมะพร้าวสารแอนตีออกซิแดนท์ที่มีราคาแสนถูกและหาได้แสนง่าย
|
|
|
มนุษย์กลัวการเสื่อมสภาพ เพราะการเสื่อมสภาพเป็นที่มาของการการเกิดโรคร้ายต่างๆมากมาย เช่นโรคมะเร็ง เส้นเลือดอุดตันอันนำไปสู่การเป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ การเสื่อมของประสาทตาในโรคเบาหวานเป็นต้น วิตามินอี ปริมาณมากในน้ำมันมะพร้าวสามารถยับยั้งการเสื่อมสภาพของไขมัน ช่วยต้านกสนเกิดอนุมูลอิสระที่เป็นเหตุจากการเสื่อมสภาพของไขมันในร่างกาย น้ำมันมะพร้าวจึงเป็นสารแอนตีออกซิแดนท์ หรือสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นธรรมชาติ หาง่าย และราคาไม่แพง
|
|
|
มาช่วยกันป้องกันโรคเรื้อรังเหล่านี้ ด้วยน้ำมันมะพร้าว (มะเร็ง หัวใจ และเบาหวาน) |
|
|
น้ำมันมะพร้าวสร้างความแข็งแรง ให้ร่างกาย ด้วยการช่วยลดการสร้างอนุมูลอิสระ อันเกิดจากการเสื่อมสภาพหรือการออกซิเดชั่นภายในร่างกาย จึงช่วยลดการเสื่อมของหลอดเลือดหัวใจ ลดการเสื่อมของดวงตาในกรณีของโรคเบาหวาน และลดอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง นั่นเอง
|
|
|
ออยล์พูลลิ่งด้วยน้ำมันมะพร้าวป้องกันโรคได้สารพัดชนิด |
|
|
ออยล์พูลลิ่งเป็นการบำบัดด้วย วิธีทางธรรมชาติ ที่มีมามากกว่า 1000 ปี ในประเทสอินเดียวิธีการ อมและเคลื่อนน้ำมันไปทั่วช่องปากประมาณครั้งละ 15-20 นาทีแล้วบ้วนทิ้งไป โมเลกุลน้ำมันจากการทำ ออยล์พูลลิ่งจะดึงแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคหรือสร้างสารพิษออกจากช่องปาก ทำให้ช่องปากรวมไปถึงร่างกายมีสุขภาพดี น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็นเหมาะจะใช้ทำออยล์พูลลิ่ง เนื่องจากเป็นน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าน้ำมันพืชชนิดใด มีความสะอาด และยังมีกลิ่นรสเป็นที่น่าพอใจอีกด้วย(ความลับอยู่ที่..เซลล์ของเชื้อ โรคอยู่ในรูปดปรตีนที่มีไขมันนั่นเอง)
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวกับเอนไซม์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย |
|
|
เอนไซม์มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยา เคมีในสิ่งมีชีวิต จึงมีความสำคัญกับชีวิตเป็นอย่างมาก หากเอนไซม์หยุดทำงานชืวิตจะดับสิ้นไปอย่างรวดเร็ว ยาพิษที่ชื่อไซยาไนด์มีฤทธิ์หยุดยั้งการทำงานของเอนไซม์ เมื่อเข้าไปสู่ร่างกายจะทำให้เสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วินาทีเพราะไปหยุด ยั้งการทำงานของเอนไซม์
แต่ถ้าเอนไซม์ในร่างกายบกพร่องมีปริมาณลดน้อยลงเนื่องจากรับประทานอาหารที่ ไม่มีเอนไซม์ ร่างกายจะเสื่อมโทรมเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ น้ำมันมะพร้าวมีส่วนช่วยให้ร่างกายประหยัดเอนไซม์ทั้งทางตรงและทางอ้อม จึงมีส่วนทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงในอีกทางหนึ่ง |
|
|
น้ำมันมะพร้าวกับเอดส์ |
|
|
การศึกษาทางคลินิกครั้งแรกที่ โรงพยาบาลซานลาซาโรในประเทศฟิลิปปินส์ เรื่องผลของน้ำมันมะพร้าวที่มีต่อไวรัส HIV กับกลุ่มคนไข้อายุ 22-38 ปี ที่ไม่เคยได้รักษา HIV มาก่อน ในระยะเวลา 6 เดือน โดยให้คนไข้บางส่วนรับประทานน้ำมันมะพร้าววันละ 3? ช้อนโต๊ะหรือน้อยกว่าเป็นประจำทุกวัน และให้คนไข้บางส่วนรับประทานโมโนลอริน ซึ่งเป็นโมโนกลีเซอร์ไรด์ของกรดลอริคในน้ำมันมะพร้าว พบว่า คนไข้ 8 ใน 14 คนมีปริมาณไวรัสในเลือดลดลง, 5 คนมีปริมาณ CD4 เพิ่มขึ้น และ 11 คนมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่ง "ผลการทดลองนี้ยืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อและสามารถช่วยลดปริมาณไวรัส HIV ลงได้"
|
|
|
ควรรับประทานน้ำมันมะพร้าวในปริมาณวันละเท่าไรจึงจะพอเหมาะ |
|
|
ขนาดที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำคือ สำหรับผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 70กก. ปริมาณ 3? ช้อนโต๊ะเป็นปริมาณที่เหมาะสม ผู้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่านี้สามารถลดปริมาณลง ? ช้อนโต๊ะต่อน้ำหนักที่น้อยลง 10กก. ส่วนผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 70กก. รับประทานวันละ 4 ช้อนโต๊ะถือเป็นปริมาณที่เหมาะสม ในเด็กหรือหญิงตั้ง ครรภ์ถือเป็นปริมาณที่อัตราส่วนพอๆกับกรดไขมันสายปานกลางธรรมชาติที่พบในน้ำ นมแม่ ซึ่งเป็นปริมาณเพียงพอที่จะป้องกันทารกจากการติดเชื้อ การเจ็บไข้ได้ป่วย และช่วยในการรับสารอาหารที่มีคุณค่าในสภาวะปกติทั่วๆไป |
|
|
การบำรุงผิวที่ให้ผลดีและเป็นธรรมชาติจากน้ำมันมะพร้าว
|
|
|
นอกจากการเสื่อมสภาพหรือการ เกิดออกซิเดชั่นจะเกิดขึ้นภายในร่างกายแล้ว การออกซิเดชั่นสามารถเกิดขึ้นภายนอกร่างกายได้เช่นเดียวกัน การเสื่อมสภาพภายนอกร่างกายเกิดขึ้นที่ผิวนั่นเอง ซึ่งจะออกในรูปของการแพ้ เกิดรอยด่างดำต่างๆ แม้แต่ผิวหนังเหี่ยวย่นก็เป็นผลของการเกิดออกซิเดชั่น การทาน้ำมันมะพร้าวที่ผิวจึงเป็นการลดหรือกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นกับ ผิวนั่นเอง น้ำมันมะพร้าวยังปลอดภัยกับผิวเด็กเราจึงสามารถใช้ทาผิวทารก |
|
|
น้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยวิตะมิน E ธรรมชาติ คุณภาพสูง
|
|
|
วิตะมิน E ในน้ำมันมะพร้าวเป็นสารโทโคไทรอินอล ซึ่งเป็นรูปแบบของวิตะมิน E ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าวิตะมิน E อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นสารโทโคเฟอรอล ซึ่งใช้กันอยู่ในเครื่องสำอางรักษาผิวทั่วไปถึง 40-50 เท่า
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวช่วยป้องกัน-รักษาฝ้า กระ และสามารถใช้เป็นยากันแดด |
|
|
อนุมูลอิสระเป็นสาเหตุหนึ่งของ การเป็นฝ้าและกระ วิตะมิน E ในน้ำมันมะพร้าวจะทำหน้าที่ละลายอนุมูลอิสระเหล่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยากันแดดได้ดีอีกด้วย เนื่องจากเมื่อแห้งแล้วไม่เหนียวเหนอะหนะ
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวทำความสะอาดรูขุมขนช่วยลดปัญหาเรื่องสิว |
|
|
การใช้เครื่องสำอาง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รูขุมขนถูกอุดตัน เมื่อผิวหน้าของเราสกปรกรูขุมขนถูกอุดตัน ร่างกายไม่มีช่องทางให้ขับถ่ายของเสียจึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องสิว ฝี และใบหน้าเกิดริ้วรอย การทำความสะอาดใบหน้าละการดึงเครื่องสำอางออกได้ดีที่สุดคือ การใช้น้ำมัน และ พอล บิดาแห่งการทำน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็นกล่าวว่า เมื่อเราทาน้ำมันมะพร้าวที่ผิว น้ำมันจะซึมผ่านรูขุมขนและทำความสะอาดสิ่งสกปรกให้หลุดออกโดยง่าย ทำให้ร่างกายมีช่องทางขับถ่ายของเสีย
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวช่วยสมานผิวป้องกันการเกิดปัญหาหน้าท้องลาย |
|
|
น้ำมันมะพร้าวยังช่วยเร่ง ฟื้นฟูอาการบาดเจ็บและติดเชื้อของผิวหนังทุกชนิด ป้องกันการเกิดแผลเป็นที่น่าเกลียด หากใช้ก่อนล่วงหน้าอาการบาดเจ็บนั้นๆจะหายเร็วยิ่งขึ้น จึงเป็นการดีที่จะใช้เป็นประจำทุกวัน คุณผู้หญิงที่ต้องการจะเป็นแม่ หากนวดน้ำมันมะพร้าวที่หน้าท้อง ทุกวันตั้งแต่ก่อนไปจนตลอดและหลังการคลอด การเกิดท้องลายจะไม่เป็นปัญหา หรือผู้ที่เล่นเพาะกายเมื่อทำขนาดของร่างกายและกล้ามเนื้อให้ใหญ่ขึ้น บางคนมีริ้วรอยที่เกิดจากการยืดของผิวหนัง ปัญหานี้แก้ได้ด้วยน้ำมันมะพร้าว
|
|
|
คนไทยในอดีตนิยมใช้น้ำมันมะพร้าวดูแลเส้นผมรากผมและหนังศีรษะ |
|
|
น้ำมันมะพร้าวช่วยให้ผมเป็นเงา งามแข็งแรง ไม่ร่วงไม่หงอกก่อนวัย และช่วยควบคุมรังแค เพียงชโลมให้ทั่วหนังศีรษะ ด้วยปริมาณที่เหมาะสมประมาณหนึ่งถึงสองช้อนชา นวดหนังศีรษะจนน้ำมันแทรกซึมทั่วหนังศีรษะและเส้นผมแต่อย่าใช้มากจนเปียก เกินไป หลังจากนั้น ทิ้งไว้อย่างน้อย 15 นาที (ยิ่งทิ้งไว้นานเท่าไรยิ่งดี) เพื่อให้น้ำมันแทรกซึมสู่หนังศีรษะแล้วสระออก
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวเหมาะจะใช้เป็นน้ำมันนวด |
|
|
น้ำมันมะพร้าวเหมาะที่สุดที่จะ ใช้เป็นน้ำมันนวด (massage therapy) เนื่องจากคุณสมบัติในการฟื้นฟูของมัน ช่วยให้ผิวหนังมีสุขภาพแข็งแรงดูมีน้ำมีนวล และยัง ช่วยผ่อนคลาย ลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ที่สำคัญไม่ทำให้เสื้อผ้าเปื้อน จึง ไม่ทำให้ที่นอนหรือผ้าปูที่นอนเสียหาย หากแม้คุณทำหกบนที่นอน รอยเปื้อนจะต่างจากรอยเปื้อนของน้ำมันอื่น น้ำมันมะพร้าวอย่างเดียวก็เหมาะจะใช้เป็นน้ำมันนวด อย่างไรก็ตาม น้ำมันมะพร้าวร่างกายสามารถดูดซับได้ง่าย ผู้นวดหลายคนจึงผสมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันไม่อิ่มตัวเชิงเดียวชั้นดีอย่าง น้ำมันอัลมอนด์ ในอัตราส่วน น้ำมันอัลมอนด์ 1 ส่วนต่อน้ำมันมะพร้าว 2 ส่วน ซึ่งทำให้น้ำมันมีความเรียบลื่นขึ้นเมื่อนวดผ่านผิวหนัง
|
|
|
สามารถใช้น้ำมันมะพร้าวนวดบรรเทาปัญหาข้ออักเสบ |
|
|
ปัญหาข้ออักเสบ ขัด บวม และเจ็บปวด สามารถบรรเทาได้โดยการใช้น้ำมันมะพร้าวทาให้ชุ่มและนวดตรงบริเวณที่มีปัญหา เป็นประจำหรืออาจใช้ผ้าพันไว้ อาการบวมจะลดลง และความเจ็บปวดก็จะลดลงด้วย
|
|
|
น้ำมันมะพร้าวกับการควบคุมน้ำหนัก |
|
|
ความ เป็นกรดไขมันสายปานกลางของน้ำมันมะพร้าว ทำให้ย่อยและถูกส่งไปที่ตับโดยตรงเพื่อสร้างพลังงาน ไม่ไหลเวียนในเส้นเลือดและสะสมตามเซลล์ไขมันเหมือนไขมันชนิดอื่นๆ ยังให้พลังงานได้มากกว่า ทำให้อิ่มเร็วขึ้นและอิ่มนาน รับประทานอาหารน้อยลง เมื่อเปลี่ยนมาใช้น้ำมันมะพร้าวปรุงอาหารแทนน้ำมันชนิดอื่นที่ใช้อยู่เป็น ประจำ จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ การควบคุมน้ำหนักหรือลดน้ำหนักด้วยการรับประทานน้ำมันมะพร้าว มีความจำเป็นต้องทำควบคู่หรือเช่นเดียวกับวิธีลดน้ำหนักแบบอื่นคือ การออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานแป้ง ไขมันสัตว์ และอาหารรสหวาน น้ำตาลฟอกขาว ข้าวขัดขาว ขนมปังขาว และควรรับประทานผักสดและผลไม้ด้วย |
|
|
มารู้จักบิดาแห่งน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์สกัดเย็น |
|
|
พอล ซอร์ซี่ |
|
|
ดร.บรูซ ไฟฟ์ นักโภชนศึกษาผู้แต่งหนังสือ Coconut Cures เขียนคำอุทิศไว้ในหนังสือของเขาว่า
" ขอมอบหนังสือเล่มนี้เป็นอนุสรณ์แด่ พอล ซอร์ซี่ และวิสัยทัศน์ของเขา ในการเผยแพร่สรรพคุณการรักษาของน้ำมันมะพร้าวไปทั่วโลก " |
|
|
พอร์โฟ ริโอ (พอล) ซอร์ซี่ เกิดที่ฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 1895 เป็นบุตรคนที่สองในจำนวนพี่น้องห้าคน พ่อของพอลเป็นนักเทศน์ในคริสตศาสนานิกายโปรแตสแตนต์ เมื่อลูกบ้านป่วย พ่อของพอลจะรักษาพวกเขาด้วยน้ำมันมะพร้าวซึ่งเป็นยาพื้นบ้านที่ใช้กันมาจน เป็นประเพณีอยู่ในฟิลิปปินส์ขณะนั้น เขาทำน้ำมันมะพร้าวด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการที่สืบทอดกันมาจากพ่อของพ่อของ พ่อ พอลได้เรียนรู้วิธีทำน้ำมันมะพร้าวสดบริสุทธิ์จากที่นั่น
ชีวิต วัยเด็กของพอลทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้าน จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ราชนาวีสหรัฐเริ่มเกณฑ์ชาวฟิลิปปินส์เข้ารับราชการทหาร (ขณะนั้นฟิลิปปินส์เป็นดินแดนภายใต้อาณัติของอเมริกา) พอลหนุ่มจึงสมัครเข้าเป็นพ่อครัว เขารับใช้กองทัพเรืออยู่สามปี ภายหลังสงครามโลกยุติ พอลลาออกจากทหารมาทำงานเป็นพ่อครัวอยู่ในเรือพาณิชย์จนกระทั่งปี 1925 หลังจากนั้นพอลย้ายไปนิวยอร์ค อาศัยในหมู่บ้านกรีนวิชกับเพื่อนๆชาวฟิลิปปินส์ของเขา ฝีมือพ่อครัวของเขาได้รับการฝึกฝนให้ดียิ่งขึ้นเมื่อเขาได้เข้าทำงานใน โรงแรมหรูอย่าง วอลดอร์ฟแอสโตเรีย พอลยังเคยทำงานให้กับตระกูลมั่งคั่งหลายตระกูล โดยเป็นทั้งพ่อครัว คนขับรถ และพ่อบ้าน พอลจะปรุงหารรสอร่อย คอยดูแลลูกเจ้านาย รวมทั้งดูแลสัตว์เลี้ยงและรถยนต์
ครั้งหนึ่งเขาทำงานให้ตระกูลไค รสเลอร์ โอกาสหนึ่งพอลเล่าว่า เจ้านายบอกพอใจในผลงานของเขาและเขาสมควรได้รับรางวัล จากนั้นไม่นาน เจ้านายของพอลตายด้วยเหตุเครื่องบินส่วนตัวตก เขาทิ้งเงินไว้ให้พอลก้อนหนึ่งที่พอลอธิบายว่าเป็น"เงินก้อนใหญ่" ส่วนจะใหญ่แค่ไหนนั้นผมไม่เคยรู้ แต่สงสัยว่าไม่น่าจะใช่แค่สองพันสามพันเหรียญ จากการที่รู้อยู่แล้วว่าพอลดำเนินชีวิตอย่างมัธยัสถ์เพียงไร เงินจำนวนนี้น่าจะทำให้พอลเป็นหลักเป็นฐาน แต่พอลกลับมอบมันแก่เพื่อนชาวฟิลิปปินส์ของเขา เพื่อนำไปใช้เป็นทุนเข้าศึกษาที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบียโดยไม่หวังจะได้คืน เขาบอกกับเพื่อนของเขาว่า เมื่อเป็นแพทย์ที่มีชื่อเสียงแล้วให้นำเงินไปช่วยเหลือพี่น้องชาวฟิลิปปินส์ ต่อไป นี่แหละพอล คอยช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ |
|
|
พอ ลเริ่มทำน้ำมันมะพร้าวเพื่อช่วยเหลือผู้คนที่เจ็บป่วย เหมือนกับที่พ่อของเขาเคยทำ อย่างไรก็ดี น้ำมันมะพร้าวของพ่อของเขาทำด้วยวิธีโบราณ มีส่วนผสมของน้ำปนอยู่มาก เก็บไว้ได้แค่สองสามสัปดาห์ก็เหม็นหืน พอลจึงปรับปรุงสูตรดั้งเดิมของพ่อเขาเสียใหม่โดยสกัดน้ำออกทั้งหมด ทำให้สามารถเก็บรักษาได้นานไม่จำกัด ใช้แล้วลื่นกว่า และแทรกซึมผ่านผิวหนังได้ง่ายกว่ามาก |
|
|
พอ ลเกษียณในปี 1952 เมื่อมีอายุครบ 57 เขาตัดสินใจทำน้ำมันมะพร้าวของเขาออกขายแบบเต็มเวลา "เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีประโยชน์, ตอบสนองความต้องการของมนุษย์" พอลกล่าว "มันทำให้คุณมีความสุข, สุขภาพแข็งแรง, และงดงาม, มันแทรกซึมผ่านรูขุมขน, เข้าสู่ศูนย์กลางประสาท ช่วยให้อายุยืนยาว สุขภาพดี" ช่วงชีวิต 45 ปีที่เหลือต่อมาของพอลอุทิศให้กับ การเผยแพร่วิธีส่ร้างเสริมสุขภาพด้วยน้ำมันมะพร้าวของเขา |
|
|
ชื่อ เสียงของพอลและน้ำมันมะพร้าวเป็นที่รู้จักกันดีทั่วทั้งเมือง หนังสือพิมพ์หลายฉบับตีพิมพ์เรื่องของพอลและน้ำมัน'โคเพียว' (น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์) ของเขา บริษัทผลิตเครื่องสำอางยักษ์ใหญ่สองสามบริษัทเสนอซื้อสูตรลับการทำน้ำมัน มะพร้าว แต่พอลปฏิเสธไปทั้งหมด การได้ลงมือทำพร้อมกับควบคุมคุณภาพด้วยตัวเองเป็นสิ่งสำคัญกว่าการได้มาซึ่ง เงินทอง
ผู้คนทั่วทั้งนิวพอร์ทต่างมาหาเขาเพื่อซื้อน้ำมัน มะพร้าวหรือมาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพ การรักษาของพอลจะใช้น้ำมันมะพร้าวเป็นหลักเสมอ มันเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นเดียวที่เขาขาย ลูกค้าของพอลมาจากทุกสาขาอาชีพ นอร์ม่า เทเลอร์ โปรเทนนิสเป็นลูกค้าประจำเช่นเดียวกับ ดิ๊ค เกรกอรี่ นักเขียนเรื่องขำขันและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง, แคธลีน คอตตา ผู้ทำไร่สมุนไพรอยู่ที่พอร์ทสมัทธ์ จะแวะมาซื้อน้ำมันมะพร้าวคราวละสองขวด ขวดหนึ่งไว้ใช้ภายนอก อีกขวดไว้รับประทาน "เชื่อหรือไม่" เธอพูด "ฉันเหยาะมันในน้ำชาหรือกาแฟ มันเหมือนวิตะมินเลย" |
|
|
ที่ ร้านของพอลมักเตรียมอาหารหม้อใหญ่เผื่อไว้หนึ่งอย่างสำหรับคนที่กำลังหิว เขาจะเสิร์ฟมันแก่ลูกค้าประจำ เพื่อนสนิท หรือกับใครๆที่แวะเข้ามา ทุกๆวันจะมีชายตาบอดคนหนึ่งเดินเคาะไม้เท้ามาตามถนนเทมส์จนถึงร้านของเขา พอลจะจัดอาหารเลี้ยงดูชายตาบอดอย่างดีราวกับพระราชา เขาทำเช่นนี้ทุกวันเป็นปีๆและคิดค่าอาหารเพียงหนึ่งหรือสองดอลลาร์ ที่พอลต้องคิดเงินก็เพื่อไม่ให้ชายตาบอดรู้สึกเคอะเขิน เขายังทำเช่นนี้กับคนติดเหล้าคนหนึ่งที่โผล่มาเป็นครั้งคราว พอล เป็นชายร่างเล็กที่สูง 5 ฟุต 1 นิ้วและหนักเพียง 120 ปอนด์ แต่หัวใจของเขายิ่งใหญ่นัก
ธุรกิจของพอลคือน้ำมันมะพร้าวที่เขารักอย่างจริงจัง บทสนทนาของพอลถ้าไม่เริ่มต้นก็ต้องจบลงด้วยเรื่องน้ำมันมะพร้าว พอลมักพูดว่า "มะพร้าวเป็นราชาของอาหาร มะม่วงเป็นราชินี" พอลเคยยกขวดน้ำมันมะพร้าวขึ้นพร้อมพูดว่า "ความลับของการมีสุขภาพดีอยู่ในขวดนี้ คนเป็นล้านทั่วโลกต้องตายไปเพราะเจ็บไข้หรือหิวโหย รู้แล้วก็ได้แต่เศร้าใจเพราะตัวผมมีคำตอบอยู่ในมือ" |
|
|
พอ ลไม่เคยมีกลิ่นตัวหรือกลิ่นปาก ซึ่งเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ เพราะตลอดเวลาที่รู้จักกันมา 25 ปี พอลไม่เคยอาบน้ำฟอกสบู่เลย เขาใช้การนวดตัวด้วยน้ำมันมะพร้าวทุกวันตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าแทน เขาจะดื่มมันเล็กน้อย ถ้าวันไหนรู้สึกไม่ดีก็จะดื่มมากหน่อย ด้วยสุขภาพและสภาวะทางร่างกายที่ดีเยี่ยม บวกกับใบหน้าที่ไม่มีริ้วรอยแม้จะอยู่ในวัย 70-80 ปีของพอลเป็นตัววัดได้อย่างดีว่าน้ำมันมะพร้าวของเขาให้ผลเช่นไร |
|
|
|
|
|
พอ ล ซอร์ซี่เสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 1998 ด้วยวัยอันน่าทึ่ง 102 ปี คนที่รู้จักต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เขาดูอ่อนวัยและกระฉับกระเฉงกว่าอายุ ยังคงง่วนกับการบดมะพร้าวเพื่อทำน้ำมันอย่างทะมัดทะแมงไปจนบั้นปลายชีวิต เป็นข้อยืนยันได้อย่างดีว่าน้ำมันมะพร้าวของเขาใช้ได้ผลเพียงไร พอลนับว่าเป็นผู้ค้นพบยาอายุวัฒนะที่แท้จริง |
|
|
ข้อมูลบางส่วนจาก มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว และ ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
|